วันอังคารที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2556

การดูแลไก่ชน หลังชนมา 
เมื่อไก่ชนชนะมาควรปฏิบัติอย่างไร 
เมื่อไก่ชนะระหว่างยก 3-5 
ควรตรวจสอบดูว่ามันบาดเจ็บตรงจุดไหนบ้าง เมื่อตรวจพบบาดแผล ต้องรีบรักษาโดยด่วน เมื่ออาการบาดเจ็บหายดีแล้วยัง 
ไม่ควรอาบน้ำร้อน ควรให้อาบน้ำธรรมดาไปก่อน แล้วปล่อยลงดินให้มันได้คลุกฝุ่นบ้าง เพื่อเป็นการคลายความตึงเครียดของร่างกาย เมื่อมันนอนคลุกฝุ่น ดีแล้วก็จับมาอาบน้ำเย็นและทำการซ้อมเบา เพื่อวอร์มร่างกายให้คืนสภาพเดิม เมื่อดูว่าร่างกายคืนสถาพเดิมดีแล้ว นำไปซ้อมจริง 1 ยก แล้วนำมาเลี้ยงตาม ปกติ เพื่อเตรียมพร้อมในการออกชนต่อไป และการอาบน้ำร้อนควรไม่เกิน 15 วันสำหรับไก่ชนที่ชนะมา 
ส่วนไก่ชนที่ชนะตั้งแต่ยก 6 ขึ้นไป 
ก็ทำเหมือนกัน ถ้ามีแผลที่ใบหน้าก้รีบรักษาโดยทันที เมื่อบาดแผลเริ่มเป็นสะเก็ดแข็ง และแห้ง ควรถ่ายยาแก้ช้ำใน หลังจากถ่ายยาแล้ว สะเก็ดแผลหลุดหมดแล้ว ก็เริ่มทำการออกกำลังกายได้ 
ไก่ชนเมื่อหมดสภาพไม่ควรทำลาย 
ไม่ว่าไก่จะแพ้หรือหมดสภาพ จะต้องคิดก่อนว่าจะทำอย่างไร ห้ามทำลายหรือปล่อยทิ้ง ทางที่ดีต้องตอบแทนบุญคุณมันบ้าง โดยการหาที่ว่างๆสักหน่อยพอที่ จะให้มันอยู่กับตัวเมียที่เราหามาให้ เพาะเอาลูกมันไว้สักคอกหนึ่ง เมื่อเราเอาใจใส่กับมันสภาพจิตใจมันก็จะดีขึ้น และอาจจะให้ลุกไก่ชนดีๆสักคอกก็ได้ ไก่ชน ทุกตัวมันจะคุ้นเคยกับเจ้าของที่เลี้ยงมัน เมื่อมันเห็นคนเลี้ยง มันก็จะแสดงอาการดีใจ คนเลี้ยงไก่ชนจะมีความผูกพันกับไก่เป็นพิเศษ เราต้องรู้จักเอาใจใส่มัน ให้ดีและดูแลให้ความรักกับมัน ไก่ชนก็มีจิตใจเหมือนกัน ดังนั้นจึงไม่ควรทิ้งขว้าง ควรเก็บและรักษามันไว้ให้ดี 
การทำความสะอาดบริเวณที่เลี้ยงไก่ชน 
เรื่องความสะอาดต้องมาเป็นอันดับแรก เพราะบริเวณที่เลี้ยงไก่ นอกจากไก่ชนแล้วอาจมีสิ่งอื่นๆ เช่น เห็บ ไร ที่มีตามตัวไก่ หรือแม้แต่สุ่มขังไก่ก็อาจจะมี ไรเกาะอยู่ ถ้าสังเกตดีๆไรจะเกาะอยู่ตามหัวสุ่ม 
ขี้ไก่ก็เป็นอีกส่วนหนึ่งที่ควรทำความสะอาดทุกครั้ง เช่น ขี้ไก่อาจจะติดใต้อุ้งเท้าไก่ เมื่อมันแห้งก็จะติดอยู่อย่างนั้น เมื่อมันกระโดดหรือเดินย่ำอยู่เรื่อยๆ มันก็ จะไปหนุนใต้อุ้งเท้า ทำให้อุ้งเท้าแข็งจนเป็นไตหรือก้อนเนื้อแข็งใต้อุ้งเท้า หรือที่เราเรียกว่า " หน่อ" หรือไม่อาจจะมีพยาธิติดมากับขี้ไก่ ไก่ก็จะติดพยาธิได้ ฉะนั้นเมื่อจะนำไก่เข้านอนควร ทำความสะอาดทุกครั้ง เมื่อบริเวณที่เลี้ยงไก่สะอาด สุขภาพของไก่ก็จะดีมีความสมบูรณ์ 
การดูแลรักษาไก่หลังจากชนมาแล้ว 
หลังจากที่นำไก่ออกมาจากสังเวียนแล้ว ให้กราดน้ำเช็ดตัวไปตามปกติ เช็ดตามบริเวณใบหน้าที่มีเลือดติดอยู่ออกให้หมด ถ้าเช็ดออกไม่หมดอาจทำให้เกิดปรวดได้ และถ้ามีแผลเย็บไว้ จะเป็นแผลถ่างตา แผลตามหัว เข้าปากไว้ ให้ตัดด้ายที่เย็บไว้ออกให้หมด เพราะถ้าไม่ตัดด้าย อาจจะทำให้แผลหายช้า หรือแผลหายไม่สนิทเหมือนเดิม ตัดด้ายออกให้หมดแล้วเช็ดด้วยกระเบื้องให้แห้ง ทาด้วยยาเพนนิสรินใส่แผลชนิดขี้ผึ้งทาทิ้งไว้
ถ้าไก่ถูกตีมากๆ ขนาดมาถึงบ้านแล้วยังไม่ลุก นอนตลอดเวลา ให้เอาน้ำเกลือแห้งนิวเพาร์เวอร์ครึ่งซองผสมน้ำพอประมาณ ให้กินแทนข้าวไปก่อนสัก 2 วันเช้า-เย็น พร้อมกับยาแก้อักเสบให้กินวันละ 1 เม็ด ในระยะ 2 วัน ห้ามกินข้าวสุก ข้าวเปลือกเป็นอันขาด โดยเฉพาะกล้วย เพราะกล้วยนั้นย่อยยากมาก ควรให้น้ำเกลือไปก่อน หลังจาก 2 วันไปแล้ว ลองเอาข้าวสุกให้กินก่อนให้กินกับน้ำเกลือก็ได้ ให้มื้อละ 2-3 ก้อน เช้า-เย็น แล้วลองสังเกตดูว่าย่อยหมดกระเพาะไหม ถ้าย่อยหมดก็ให้กินเพิ่มขึ้นได้เรื่อยๆ ให้ยาบำรุงร่างกายด้วยก็ได้ เพราะจะทำให้ไก่ฟื้นตัวเร็ว พอไก่ฟื้นตัวแล้วควรปล่อยให้ไก่อยู่ในที่กว้างๆที่มีหญ้าแพรกสดให้กิน อย่าให้อยู่แต่ในสุ่มเป็นอันขาด เพราะจะทำให้ไก่ตึง หลังจากไก่ฟื้นตัวได้ 15 วัน ควรถ่ายยาลุภายในร่างกายที่ถูกตีมา ถ่ายช้ำใน ถ่ายด้วยยาสมุนไพร ไม่ใช่ใช้ยาถ่ายพยาธิถ่าย ถ่ายในร่างกายให้หายจากการฟกช้ำดำเขียว หลังจากถ่ายยาลุได้ 7 วัน ลองให้ไก่วิ่งสุ่มเบาๆไปก่อน เพื่อเป็นการยืดเส้น ยืดสายไปในตัว ยาถ่ายลุนี้ทำด้วย
สมุนไพรมีดังนี้ 
1. ไพล 2 หัวใหญ่
2. เกลือแกงครึ่งช้อนแกง 

3. น้ำตาลปีบ 1 ช้อนแกงพูน
4. มะขามเปียก 1 ปั้น
5. ยาดำเล็กน้อย
เอามาตำให้ละเอียด ผสมกันให้เข้ากันดี ให้กินครั้งละ 2-3 ก้อนเท่าหัวแม่มือ แล้วให้น้ำอุ่นๆกินให้เกือบเต็มกระเพาะ ทิ้งไว้ในบริเวณที่สะอาดๆ และต้องคอยดูด้วยว่าไก่ถ่ายยาออกหมดหรือยัง คลำดูกระเพาะจะรู้ ถ้าหมดแล้วควรให้กินข้าวสุกทุกครั้ง ไก่เวลาถ่ายยาแล้วให้กินข้าวเปลือกส่วนมากจะไม่ค่อยย่อย หรือย่อยไม่หมด ควรให้กินข้าวสุกก่อนเป็นการดี
ถ้าไก่ที่ชนมาแล้วตามเนื้อตามตัวมีรอยฟกช้ำดำเขียว ให้เอาเคาร์เตอร์เพนบาล์ม ทาตามรอยที่ฟกช้ำบางๆ เอานิ้วชี้ขยี้ให้ทั่วบริเวณที่ฟกช้ำ อย่าใช้ยามากจนเกินไป เพราะเคาร์เตอร์เพนบาล์มเป็นยาร้อน แต่ถ้าใช้บางๆแผลฟกช้ำของไก่จะหายเร็วกว่ายาชนิดอื่นๆ อย่าเอาไปทาที่แข้งของไก่เป็นอันขาด ถ้าทา เกล็ดของไก่จะหลุดหมด ทาได้ตามเนื้อหนังเท่านั้น ส่วนที่เป็นเกล็ดห้ามทา

แอนิเมชั่ 3D
ขอบคุณเวปไก่ชนดอดคอมหลายๆเด้อ   ขอโทษครับ

วัคซีนใหม่ป้องกันโรคนิวคาสเซิล

วัคซีนใหม่ ป้องกันโรคนิวคาสเซิล - กัมโบโร ในไก่ทั่วไป คนไทยผลิตได้แล้ว 


โรคภัยไข้เจ็บของไก่นั้นมีมากมาย เราจะเห็นได้ว่า บางทีเห็นไก่หงอยเหงา เจ็บป่วยไม่กี่วันก็ตาย เป็นเพราะไก่ได้รับเชื้อโรคที่ร้ายแรงมากทำให้ทนไม่ไหว เกิดล้มตายไปได้อย่างรวดเร็ว 
วัคซีนที่ป้องกันโรค นิวคาสเซิล และโรคกัมโบโร ชนิดใหม่ดังกล่าวนี้ มีอยู่ทั้งหมด 4 ชนิด คือ 
1. วัคซีนนิวคาสเซิลเชื้อเป็น (La Sota strain) ( Live Newcastle Disease Vaccine )
สรรพคุณ เป็นวัคซีนป้องกันโรคนิวคาสเซิลในไก่
2. วัคซีนกัมโบโรเชื้อเป็น (Cu 1 M strain) ( Live Gumboro Disease Vaccine )
สรรพคุณ เป็นวัคซีนป้องกันโรคกัมโบโรในไก่
3. วัคซีนนิวคาสเซิลเชื้อตาย ( La Sota strain ) ( Killed Newcastle Disease Vaccine )
สรรพคุณ เป็นวัคซีนเชื้อตายที่มีสื่อเป็นน้ำมัน ใช้ป้องกัน โรคนิวคาสเซิลในไก่
4. วัคซีนกัมโบโรเชื้อตาย ( Cu 1 M ) ( Killed Gumboro Disease Vaccine )
สรรพคุณ เป็นวัคซีนเชื้อตายที่มีสื่อเป็นน้ำมัน ใช้ป้องกัน โรคกัมโบโรในไก่
 
สำหรับวัคซีนทุกชนิดที่ผลิตขึ้นมาเป็นวัคซีนที่มีคุณภาพ และประสิทธิภาพเป็นไปตามมาตรฐานของ USDA, OIE, European Pharmacopoeia หรือ NIAS เนื่องจากขบวนการผลิตวัคซีนเป็นไปตามแบบครบวงจร นับตั้งแต่การผลิตวัตถุดิบ ซึ้งก็ได้แก่ ไข่ไก่ฟักปลอดเชื้อโรคตามระบุ (SPF ) ซึ่งใช้ผลิต วัคซีนสัตว์ปีกภายในสภาวะห้องปลอดเชื้อ ( cleanroom ) ที่ได้มาตรฐานตามกฎเกณฑ์ของ GMP พร้อมด้วยเครื่องจักรและอุปกรณ์อันทันสมัย ในระบบปิด ด้วยเหตุนี้จึงมั่นใจได้ว่า วัคซีนชนิดนี้จะต้องมีความบริสุทธิ์เป็นที่ปลอดภัยสำหรับสัตว์แน่นอน พร้อมกันนั้นก็จะต้านไวรัสตามมาตรฐาน อีกด้วย สำหรับประสิทธิภาพของวัคซีนนิวคาสเซิล สเตรน โซต้า สามารถกระตุ้นให้ไก่สร้างความคุ้มกันโรคได้เร็ว มีการผลิตทั้งชนิดเชื้อเป็นและชนิด เชื้อตาย โดยเฉพาะวัคซีนเชื้อเป็นสามารถเอามาใช้ได้หลายวิธี เป็นต้นว่า ใช้หยอดตา หยอดจมูก หรือละลายกับน้ำดื่มก็ได้ รวมทั้งพ่นเป็นระอองฝอย ก็ได้ด้วย ส่วนวัคซีนกัมโบโร นับว่าเป็นวัคซีนชนิดใหม่ที่กรมปศุสัตว์นำมาผลิต ซึ่งได้เลือกซื้อไวรัสกัมโบโรสเตรน ชนิดรุนแรงปานกลาง ชื่อ ซียูวันเอ็ม มาใช้ มีการผ่านขั้นตอนเพื่อทำให้เชื้ออ่อนกำลังไม่ทำอันตรายกับไก่ และสามารถกระตุ้นร่างกายให้สร้างภูมิคุ้มกันโรคภายใน 7 วัน เชื้อไวรัสจะเข้าสู่ระบบภูมิคุ้มกันโรคเฉพาะ ที่ต่อมเบอร์ซ่าก่อน จากนั้นร่างกายจึงจะเกิดภูมิต้านทานในกระแสเลือด ในการใช้วัคซีนกัมโบโร และนิวคาสเซิลชนิดเชื้อตายที่มีลักษณะเป็นน้ำมัน จะต้องใช้กับไก่อายุ 18-22 สัปดาห์ ซึ่งเป็นระยะก่อนไข่ ภายหลังการฉีดวัคซีนเข้าสู่ร่างกาย จะสร้างความต้านทานในกระแสเลือดอย่างช้าๆ แต่ความคุ้มกันโรคจะอยู่ในร่างกายเป็นเวลานาน ด้วยเหตุนี้จึงมักให้วัคซีนเชื้อตายภายหลังการฉีดวัคซีนเชื้อเป็นแล้ว เพื่อรักษาระดับภูมิคุ้มกันในกระแสเลือด โดยเฉพาะภูมิคุ้มกันโรคนี้สามารถ ถ่ายทอดไปสู่ลูกไก่ได้ ซึ่งทำให้ลูกไก่มีภูมิต้านทานโรคในระยะต้นนาน 2-3 สัปดาห์



ข้อดี ข้อเสีย การใช้วัคซีน ป้องกันโรคระบาดไก่ 
วัคซีนมีผลดี ผลร้ายอย่างไรกับไก่ป่วย
วัคซีนมีทั้งข้อดีและข้อเสีย ถ้าใช้ถูกวิธีมีผลดี ถ้าใช้ผิดวิธีก็มีผลร้ายต่อไก่ เช่น ขณะไก่ไม่สบาย ไก่กำลังป่วย ห้ามทำการรักษาโดยใช้วัคซีนฉีดเข้ากล้ามเนื้อ แทนที่จะเป็นการ รักษาไก่กลับเป็นการไปเพิ่มโรค เร่งให้ไก่ตายเร็วขึ้น เป้นผลเสียไม่ควรฉีดวัคซีน ขณะไก่ป่วย จะเกิดด้วยโรคใดก็ตาม"วัคซีนถือเป็นข้อห้าม"
ข้อดี ข้อเสียของวัคซีน
ข้อดีการใช้วัคซีน 

วัคซีนเป็นยาน้ำ ที่ออกฤทธิ์ไวชนิดหนึ่ง มีสรรพคุณทางยามากใช้รักษา ป้องกันโรคสัตว์ปีก สัตว์เลี้ยงได้ดีทุกประเภท
ข้อเสีย
จะเห็นได้ว่าบางครั้งใช้รักษา-ป้องกันโรคสัตว์ปีก ไม่ได้ผลอาการเจ็บป่วยของโรคไม่ทุเลา สาเหตุใหญ่มาจากวัคซีนเสื่อม ด้อยคุณภาพ

ข้อ 1. เกิดจากการเก็บรักษาตัวยาไม่ดี หรือเก็บไว้นานหมดอายุการใช้งาน การนำมาใช้จึงไม่ได้ผล
ข้อ 2. การเก็บรักษานานๆ มีโอกาสเสื่อมคุณภาพทางยาสูงนั้น อาจเกิดจากแหล่งต้นผลิตที่ขณะเก็บรักษาเครื่องทำความเย็น อุณหภูมิต่ำเกิดการเสีย ไฟดับไปชั่วขณะ หรือทั้งวันทั้งคืน หรือไฟดับไปนานๆ วัคซีนก็มีโอกาสเสีย เสื่อมคุณภาพลง เมื่อเอาไปรักษาก็ไม่ได้ผล รักษาไม่หายเป็นต้น
ข้อ 3. วัคซีนอาจเสื่อมค่าลงในระหว่างเดินทางกลับหรือเก็บรักษาไว้ไม่ดีพอ เครื่องทำความเย็นมีปัญหา ฤทธิ์ยาก็เสื่อมค่า หรือด้อยคุณภาพ ใช้ทำการรักษา-ป้องกันโรค อะไรไม่ได้เลย
ข้อ 4. บางครั้งจำพวกร้านค้าที่เห็นแก่ได้ ทั้งที่รู้ว่าเสื่อมหรือหมดอายุการใช้งานแล้ว แต่ยังเอามาหลอกขาย การป้องกัน-รักษาโรคจึงไม่ได้ผลตามข้อมูลดังกล่าว
ข้อควรทราบ และข้อควรปฏิบัติ ก่อนการใช้วัคซีน 
1. ทำวัคซีนให้แก่ สัตว์ที่มีสุขภาพสมบูรณ์ แข็งแรงและไม่เป็นโรคเท่านั้น
2. ศึกษารายละเอียดการเก็บรักษา และการทำวัคซีนตามคำแนะนำเฉพาะของวัคซีน
3. ใช้วัคซีนตามคำแนะนำของสัตวแพท์เท่านั้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกรณีที่มีโรคระบาดเกิดขึ้นแล้ว หรือเกิดโรคระบาดในบริเวณใกล้เคียง
4. วัคซีนสามารถใช้จนถึงวันหมดอายุ ที่ระบุไว้ข้างขวด
5. อย่าให้วัคซีนถูกความร้อนหรือแสงแดด และต้องให้วัคซีนครบตามขนาดที่กำหนดไว้
6. หลังให้วัคซีนแก่สัตว์ที่กำลังจะนำไปส่งโรงฆ่า ควรเว้นช่วงเวลาตามคำแนะนำของวัคซีนแต่ละชนิด
7. วัคซีนที่เหลือจากการใช้ควรทิ้ง เพื่อหลีกเลี้ยงจากการปนเปื้อนด้วยเชื้อโรคอื่น ซึ่งจะทำให้คุรภาพวัคซีนลดลง และเป็นอันตรายในการนำไปใช้ครั้งต่อไป
8. ขวดบรรจุวัคซีน หรือภาชนะที่ใช้ในการผสมวัคซีน เมื่อใช้แล้วควรต้มหรือเผาทำลายเชื้อก่อนทิ้ง โดยเฉพาะวัคซีนเชื้อเป็น
9. ต้องให้วัคซีนซ้ำ เมื่อหมดระยะความคุ้มกันโรค ของวัคซีนแต่ละชนิด
10. วัคซีนแบบที่ต้องผสมกับน้ำยาละลาย เมื่อผสมแล้วต้องใช้ให้หมดภายใน 2 ชั่วโมงระหว่างนั้นต้องเก็บในกระติกน้ำแข็ง
11. สัตว์บางตัวอาจเกิดการแพ้หลังใช้วัคซีนดังนั้นควรสังเกตอาการสัตว์ภายหลังใช้วัคซีนแล้วประมาณ1ชั่วโมงถ้าเกิดอาการแพ้ให้รักษาด้วยแอตรีนาลีนหรือแอนติฮีสตามีน
12. วัคซีนที่เสื่อมคุณภาพ หมดอายุ มีการปนเปื้อน หรือสีของวัคซีนเปลี่ยนไป ห้ามนำมาใช้
13. การฉีดวัคซีนให้ได้ผล ต้องพยายามฉีดให้แก่ สัตว์ทุกตัวในหมู่บ้าน ยิ่งปริมาณสัตว์ที่ได้รับปริมาณมาก ระดับภูมิคุ้มโรคในหมู่ฝูงยิ่งสูง โอกาสที่จะเกิดโรคระบาดจึงมีน้อย
14. การใช้วัคซีน เพื่อสร้างระดับความคุ้มโรคในแม่พันธุ์ สามารถถ่ายทอดภูมิคุ้มกันให้ลูกในระยะแรกเกิด
15. สัตว์จะป่วยหลังจากได้รับเชื้อโรคหรือไม่ ขึ้นอยู่กับปริมาณและความรุนแรงของเชื้อโรคที่เข้าสู่ร่างกาย หากเชื้อโรคมีปริมาณและความรุนแรงมากอาจทำให้สัตว์เป็นโรคได้
16. ไม่ควรหวังผลจากการฉีดวัคซีน แต่เพียงอย่างเดียว การป้องกันการติดโรคจากแหล่งอื่น การจัดการและการสุขาภิบาลที่ดีจะช่วยป้องกันการเกิดโรคได้ดีที่สุด
การเตรียมอุปกรณ์ก่อนทำวัคซีน
1. อุปกรณ์ในการทำวัคซีน เช่น เข็มและกระบอกฉีดยา ต้องต้มให้สะอาด ให้เดือดนาน 15 นาที ก่อนและหลังการใช้ ห้ามแช่ในน้ำยาฆ่าเชื้อโรค
2. วัคซีนชนิดเป็นน้ำ หรือน้ำมันพร้อมฉีดจะต้องทำความสะอาดจุกยาง และคอขวดด้วยสำลีแอลกอฮอล์ เขย่าวัคซีนให้เป็นเนื้อเดียวกัน แล้วใช้เข็มและกระบอกฉีดยาที่ ต้มสะอาดแล้ว ดูดวัคซีนออกมาตามขนาดที่จะใช้
3. วัคซีนที่จะต้องผสมก่อนใช้ ต้องใช้เข็ม และกระบอกฉีดยาที่ต้มสะอาดดูดน้ำยาละลายที่เตรียมไว้สำหรับฉีดวัคซีนแต่ละชนิด ฉีดเข้าไปในขวดบรรจุวัคซีนเขย่าให้เข้ากัน ประมาณ 2-5 นาที แล้วดูดวัคซีนออกมาตามขนาดที่จะใช้ วัคซีนที่ละลายแล้วต้องใช้ให้หมดภายใน 2 ชั่งโมง ระหว่างการใช้จะต้องเก็บวัคซีนในกระติกน้ำแข็ง สำหรับหลอดบรรจุวัคซีน และอุปกรณ์ในการทำ เมื่อใช้แล้วควรต้มทำลายเชื้อก่อนทิ้งหรือเก็บไว้ โดยเฉพาะวัคซีนเชื้อเป็น
ตำแหน่งบนตัวสัตว์ที่จะใช้วัคซีนสัตว์ปีก
1. ฉีดเข้ากล้ามเนื้อ ใช้เข็มเบอร์ 20-21 ยาว 0.5 นิ้ว บริเวณกล้ามเนื้อหน้าอกหรือกล้ามเนื้อโคนขาหลัง ฉีดเข้ากล้ามเนื้อหน้าอกจะมีความปลอดภัยสูงกว่าฉีดเข้า กล้ามขาหลัง เนื่องจากกล้ามเนื้อขาหลังมีเส้นประสาทใหญ่พาดผ่าน
2. ฉีดเข้าใต้ผิวหนัง ใช้เข็มเบอร์ 20-21 ยาว 0.5 นิ้ว บริเวณหลังคอ
3. หยอดตา ดึงหนังตาล่าง หยดวัคซีนด้วยหลอดหยดลงที่ตา
4. หยอดจมูก ใช้นิ้วมือปิดจมูกข้างหนึ่งแล้วหยดวัคซีนที่รูอีกข้างหนึ่ง เมื่อสัตว์สูดวัคซีนแล้ว จึงปล่อยนิ้ว
5. แทงปีก ใช้เข็มรูปส้อมจุ่มวัคซีนในขวดให้มิดเข็ม แทงที่พังผืดของปีก อย่าให้ถูกเส้นเลือด

ที่มา //เวปไก่ชนดอดคอม






ข้อควรปฏิบัติให้ภูมิคุ้มกันโรคไก่

ข้อควรปฏิบัติให้ภูมิคุ้มกันโรคไก่
ลูกไก่แรกเกิด จนอายุล่วงมาถึง 7 วันต้องได้รับการฉีดวัคซีนป้องกัน โรคนิวคาสเซิล ลูกไก่อายุ 14 วัน ต้องได้รับวัคซีนป้องกันโรคฝีดาษ ลูกไก่อายุ 21 วัน ต้องได้รับวัคซีนป้องกันโรคหลอดลมอักเสบ ลูกไก่อายุ 30 วัน ต้องได้รับวัคซีนป้องกันโรค อหิวาต์ โรคของไก่กับการป้องกัน อย่าลืมว่าไก่ทั้งหลายนั้นมีโรคติดต่อที่ร้ายแรงมาก เกิดระบาดขึ้นมาเมื่อไรแล้วไก่ก็จะติดเชื้อ เกิดการเจ็บป่วยอย่างรุนแรง 
ระบาดไปทั่วบริเวณใกล้เคียง

และอาจระบาดไปได้ไกลๆ ข้ามจังหวัดก็ได้ เพราะคนเราติดเชื้อแล้วเดินทางไปไหนมาไหนกันอยู่แล้ว 
จึงพาเอาเชื้อโรคระบาดของไก่นี้ไปด้วย เที่ยวไปปล่อยเอาไว้ที่นั้นที่นี่ได้โดยง่าย

การใช้วัคซีนสำหรับไก่
การเลี้ยงไก่ในบ้านเราจะไม่ให้ยุงกัดเลยย่อมทำไม่ได้ เพราะเป็นเมืองร้อนยุงมากจึงทำให้เป็นโรคฝีดาษอยู่กว้างขวางแห่งที่มีการเลี้ยงไก่ ดังนั้นการป้องกันโรคฝีดาษจึงจำเป็นเหลือเกินที่จะต้องอาศัย
วัคซีนป้องกันโรคฝีดาษของกรมปศุสัตว์ 
วัคซีนชนิดนี้ให้ผลดีมากในการป้องกันโรคฝีดาษ การให้วัคซีนต้องให้เสียตอนที่ลูกไก่อายุได้ 7 วัน
วัคซีนนี้ให้ครั้งเดียวก็พอ ไม่ต้องให้ซ้ำอีกเพราะไก่ที่โตเต็มที่แล้วจะต้านทานโรคนี้ได้ดี
หลังจากให้วัคซีนลูกไก่แล้วควรป้องกันไม่ให้ยุงกัดเด็ดขาด
โรคหลอดลมอักเสบติดต่อ เนื่องจากยังไม่มียารักษาโรคหลอดลมอักเสบติดต่อได้ผลจริง ๆ
การป้องกันที่ดีหรือให้ได้ผลดีจริง ๆ ต้องใช้วัคซีนป้องกันโรคนี้ของกรมปศุสัตว์
หยอดจมูกให้ลูกไก่หลังจากอายุ 15 วันไปแล้ว ให้หยอดตัวละ 2 หยด และควรหยอดวัคซีนซ้ำอีกครั้งหนึ่ง
เมื่อลูกไก่อายุได้ 4 - 5 เดือน
การใช้วัคซีนป้องกันโรคนิวคาสเซิลที่ถูกต้องควรทำดังนี้
1. เมื่อลูกไก่อายุ 2 - 5 วันให้หยอดจมูกลูกไก่ด้วยวัคซีน สเตรนเอฟ ตัวละ 1 หยด
2. พอลูกไก่ได้ 3 อาทิตย์เต็ม ควรให้วัคซีนสเตรนเอฟหยอดซ้ำอีกตัวละ 2 หยด
3. พอลูกไก่ได้ 8 อาทิตย์ ควรใช้วัคซีนเอมพีสเตรน แทงที่ผนังปีก จะคุ้มโรคได้ 1 ปี
ตารางการให้วัคซีนป้องกันโรคระบาดของไก่
จากคำแนะนำ : การใช้วัคซีน กรมปศุสัตว์ กองปศุสัตว์สัมพันธ์
ชนิดวัคซีนอายุไก่วิธีใช้ขนาดวัคซีนระยะคุ้มโรค
นิวคลาสเซิลชนิดหยอดจมูก1-7 วันหยอดจมูก1-2 หยอดควรทำครั้งที่สอง เมื่อไก่อายุ 21 วัน
นิวคลาสเซิล21 วันหยอดจมูก1-2 หยอดควรทำวัคซีนนิวคลาสเซิล ชนิดแทงปีกอีกครั้ง เทื่อไก่อายุ 3 เดือน
นิวคลาสเซิลชนิดแทงปีก3 เดือนใช้เข็มคู่แทงปีก1 ครั้ง6 เดือน
ฝีดาษไก่7 วันใช้เข็มคู่แทงปีก1 ครั้ง1 ปี
อหิวาต์ไก่ตั้งแต่ 1 เดือนฉีดเข้ากล้ามเนื้อ1 ซี.ซี.3 เดือน ฉีดซ้ำทุกๆ 3 เดือน
หลอดลมอักเสบ14 วันหยอดจมูก1-2 หยอด3 เดือน ฉีดซ้ำทุกๆ 3 เดือน ห้ามให้วัคซีนนี้ พร้อมกับวัคซีนนิวคลาสเซิลควรใช้วัคซีนชนิดนี้ ห่างกันไม่น้อยกว่า 1 อาทิตย์
 ขอบคุณเวปไก่ชนดอดคอม             

โรคของไก่กับการป้องกัน

โรคของไก่กับการป้องกัน

 ข้อควรปฏิบัติให้ภูมิคุ้มกันโรคไก่
  ลูกไก่แรกเกิด จนอายุล่วงมาถึง 7 วันต้องได้รับการฉีดวัคซีนป้องกัน โรคนิวคาสเซิล
  ลูกไก่อายุ 14 วัน ต้องได้รับวัคซีนป้องกันโรคฝีดาษ
  ลูกไก่อายุ 21 วัน ต้องได้รับวัคซีนป้องกันโรคหลอดลมอักเสบ
  ลูกไก่อายุ 30 วัน ต้องได้รับวัคซีนป้องกันโรค อหิวาต์
โรคของไก่กับการป้องกัน 
อย่าลืมว่าไก่ทั้งหลายนั้นมีโรคติดต่อที่ร้ายแรงมาก เกิดระบาดขึ้นมาเมื่อไรแล้วไก่ก็จะติดเชื้อ เกิดการเจ็บป่วยอย่างรุนแรง ระบาดไปทั่วบริเวณใกล้เคียงและอาจระบาด ไปได้ไกลๆ ข้ามจังหวัดก็ได้ เพราะคนเราติดเชื้อแล้วเดินทางไปไหนมาไหนกันอยู่แล้ว จึงพาเอาเชื้อโรคระบาดของไก่นี้ไปด้วย เที่ยวไปปล่อยเอาไว้ที่นั้นที่นี่ได้โดยง่าย 
โรค นิวคาสเซิล 
ถ้าเป็นโรคของไก่แล้วละก็โรค นิวคาสเซิล เป็นโรคที่ร้ายแรงมากที่สุด ไม่ว่าจะเป็นไก่บ้าน หรือไก่พื้นเมือง หรือไก่แจ้ 
อาการของโรค เมื่อไก่ได้รับเชื้อเข้าไปแล้ว ไม่ช้า ไม่นานก็เริ่มออกอาการ เงื่องหงอย เหงา ซึม ยืนนิ่งเฉย ปีกตกลู่ลงมา หงอน เหนียงก็ซีดเซียว จากนั้นก็เป็นสีคล้ำ ผิดปกติ เวลาขี้ออกมาจะเห็นได้ทันทีว่าเป็นสีเขียวๆ ชาวบ้านเรียกว่า โรคขี้เขียว หากไก่เกิดมีอาการขี้เขียวขึ้นมาเมื่อไรก็หมายความว่าเกิดโรคร้ายแรงมากขึ้นแล้ว เพราะโรคขี้เขียว นี้ไม่ปราณีชีวิตไก่ตัวไหนเลย 
ไก่ที่เป็นโรคนี้ บางตัวนั้นจะมีอาการหัวตกลงเบื้องล่าง โงหัวไม่ขึ้นเลยหรือบางทีแหงนคอแล้วบิดมาทางเบื้องหลังก็ได้ โรคนิวคาสเซิล นี้จำเป็นจะต้องมีการป้องกัน เอาไว้ก่อนเท่านั้น หากเกิดเป็นขึ้นมาก็หมายความว่าจะต้องทำให้ไก่ล้มตายขึ้นเท่านั้น ป้องกันเอาไว้ก่อนที่ไก่จะแสดงอาการออกมา ป้องกันด้วยวัคซีนเท่านั้น ไม่มียาอะไรมารักษาไก่ที่เจ็บป่วยให้ฟื้นคืนดีขึ้นมาได้เลย ต้องฉีดวัคซีนป้องกันโรคเอาไว้ก่อน ให้วัคซีนไก่ตั้งแต่เป็นลูกไก่ ก่อนที่จะเอามาเลี้ยงให้เจริญเติบโตเป็นไก่ใหญ่ หากเกิดเลี้ยงลูกไก่ที่เจ็บออดๆ แอดๆ มองดูเซื่องซึม หงอยเหงาเอาไว้ ก็จะต้องเสี่ยงต่อการเลี้ยงลูกไก่ขี้โรคเอาไว้เพื่อทำให้ลูกไก่อื่นๆ ที่เลี้ยงรวมกันอยู่เกิดมีอันเป็นไป ด้วยกัน อาจจะเกิดโรค นิวคาสเซิล ขึ้นมาก็ได้ เพราะลูกไก่ที่ผิดปกติ สุขภาพไม่ดี เงื่องหงอยนั้นแหละที่จะนำเชื้อโรคดังกล่าวมาติดต่อกับลูกไก่ตัวอื่นๆ อย่าเอามาเลี้ยง รวมกับลูกไก่ที่มีสุขภาพดีเป็นอันขาด ให้แยกออกไปห่างๆ เอาไปทำลายเสียก่อนที่โรคระบาดจะเข้ามา เป็นการตัดไฟเสียแต่ต้นลม ด้วยเหตุนี้เอง เมื่อเอาลูกไก่มาเลี้ยง ไม่ว่าจะเป็นไก่อะไรก็ตาม จะต้องฉีดวัคซีนป้องกันโรคเสียก่อนทุกๆตัวทีเดียว 
โรค อหิวาต์ไก่ 
นับว่าเป็นโรคระบาดที่ร้ายแรงอีกโรคหนึ่ง เพราะสามารถสร้างความหายนะให้แก่ไก่ที่เลี้ยงได้มากมายเช่นกัน 
อาการของโรค โดยมากมักจะไม่แสดงอาการอะไรออกมา แล้วลุกเงียบ ไก่จะเฉยๆไม่เห็นมีอะไรผิดปกติเลย อาการเช่นนี้สำคัญมาก เพราะเป็นโรคที่มาเงียบๆ ไก่จะเกิดล้มตายทันทีเมื่อเกิดมีอาการมาก ได้รับเชื้อเข้ามามากจะไม่เหลือเลย 
หากอาการของไก่ที่เจ็บป่วยไม่มีอาการรุนแรงนักจะเห็นได้ว่าไก่ที่เลี้ยงเอาไว้จะมีอาการเงื่องหงอยผิดปกติ ซึม ปีกตก หางตก หงอนเหนียงซีดลงอย่างเห็นได้ชัด คอไก่จะพับไปทางเบื้องหลังอย่างประหลาด ไก่จะขี้ออกมาเป็นสีขาวๆ ไก่ไม่กินอาหารเลย ไม่อยากกินเพราะอาการของโรคที่เกิดขึ้น บางตัวอาจจะส่งเสียงหายใจ ออกมาดังครอกๆในลำคอก็ได้เวลานอนบนคอน สังเกตให้ดีคือ ขี้ขาว ผิดธรรมดา 
วิธีการป้องกันโรคนี้ก็ด้วยการฉีดวัคซีน ฉีดเมื่อไก่อายุได้ 3 เดือน ฉีดให้ไก่ที่เลี้ยงทุกตัว 
โรคฝีดาษไก่ 
ไก่ก็เป็นโรค ฝีดาษไก่ ได้ซึ่งจะต้องฉีดวัคซีนป้องกันโรคเช่นเดียวกัน ปล่อยปละละเลยไม่ได้เป็นอันขาด มิฉะนั้น เมื่อไก่เกิดเจ็บป่วยขึ้นจะลำบาก เพราะเชื้อโรคจะระบาด ไปกันใหญ่ ป้องกันเอาไว้ดีกว่าแก้ไข ซึ้งทางแก้ไขไม่มีเอาเลย มีแต่ป้องกันไม่ให้เกิดโรคด้วยการให้วัคซีนแก่ไก่เมื่อยังเล็กๆอยู่เท่านั้น 
โรคไก่ก็มีอีกได้แก่โรคพยาธิ 
เพราะไก่นั้นคุ้ยเขี่ยอาหารไปตามที่ต่างๆ หรือกินอาหารที่อาจจะมีไข่พยาธิปนเปื้อนสะสมอยู่ ไก่จึงเกิดมีพยาธิขึ้น จะต้องใช้ยาถ่ายออกมาอย่างถูกต้อง และระวัง การติดต่อกันกับไก่ตัวอื่นๆ ปฏิบัติให้ดีที่สุด ระวังเรื่องการติดต่อของโรคให้มากเพื่อความไม่ประมาท อย่าให้ผู้ที่ไม่ได้เกี่ยวข้องเข้าไปในเล้าไก่ หรือในบริเวณที่เลี้ยงไก่ เด็ดขาด เพราะอาจจะนำเชื้อโรคบางอย่างเข้าไปทำให้ไก่เจ็บป่วยได้อย่างนึกไม่ถึง รองเท้าที่สวมใส่ก็เป็นสิ่งสำคัญมากห้ามบุคคลภายนอกเดินไปในเล้าไก่ และบริเวณ ที่เลี้ยงไก่เด็ดขาด หากต้องการจะเข้าไปจะต้องเปลี่ยนรองเท้าที่ใช้ เปลี่ยนเสื้อผ้า เครื่องนุ่งห่มที่จัดให้ใหม่ โดยเฉพาะการเลี้ยงไก่เป็นจำนวนมากๆ ในฟาร์มใหญ่ๆทั่วไป ไม่จำเป็นแล้วจะเข้าไปไม่ได้ 
ภูมิคุ้มกันในไก่
ในการให้ภูมิคุ้มกันโรคในไก่นี้จำเป็นจะต้องใช้วัคซีน เช่นเดียวกับคนเราเช่นเดียวกัน 
ไก่ที่ดี สุขภาพสมบูรณ์ แข็งแรง ก็จะต้องมีความต้านทานโรคดี ไม่เจ็บป่วยง่ายๆ 
ระบบการป้องกันของไก่นั้นมาจากอวัยวะ หรือต่อมที่สำคัญ 2 พวก 
- ระบบที่มาจากต่อมเบอร์ซ่า ฟาบริเซียส 
- ระบบที่มาจากต่อมธัยมัส 
ระบบดังกล่าว หากระบบใด ระบบหนึ่งเกิดสูญเสียไปแล้ว ก็จะทำให้ระบบการคุ้มกันโรคหรือความต้านทานของโรคในไก่ไม่ดีไปด้วย สุขภาพจะเสียไป บางทีก็เกิดโรค ขึ้นได้โดยง่าย แทนที่จะไม่เป็นอะไรเลยก็เกิดเป็นโรคขึ้นมาจนได้ 
บางทีไก่เกิดไปอยู่ในสถานที่เปียกแฉะ โอกาสเจ็บป่วยก็จะเกิดขึ้นได้ง่าย อาจจะเป็นบิดขึ้นมาก็ได้ แม้ว่าในอาหารของไก่จะมียาป้องกันเชื้อโรคบิดอยู่แล้วก็ตาม แต่ยาก็ป้องกันเป็นบิดได้ ในกรณีที่ไม่มีเชื้อบิดมากเกินขนาดเท่านั้น ไม่ใช่ป้องกันได้เต็ม 100 % โอกาสที่ไก่จะเกิดป่วยเป็นโรคนี้ก็มีอยู่ วัคซีนนั้นนอกจากจะช่วยให้ไก่รู้จักกับระบบความคุ้มกันโรคได้ดีแล้ว ยังช่วยป้องกันการแพร่กระจายของโรคไปยังสถานที่อื่นๆอีกด้วย เช่นจากเล้านี้ต่อเนื่องไปสู่เล้าโน้น และเรื่อยๆไป ไม่มีที่สิ้นสุด ป้องกันไม่ให้เกิดการเพาะเชื้อให้เกิดขึ้นในเล้าไก่มากยิ่งขึ้น อีกทั้งช่วยถ่ายทอดภูมิคุ้มกันจากไก่ทางไข่แดงได้ดีมาก ในการให้วัคซีนไก่นั้นเป็นการช่วยป้องกันโรคหลายๆอย่างที่มักจะสร้างความเสียหายให้กับลูกไก่อายุน้อยๆ ไม่ถึง 3 สัปดาห์ได้มากมาย อีกประการหนึ่ง หากไก่เกิดเป็น โรคขึ้นในระหว่างไข่ ปริมาณของไข่ไก่ก็จะลดลง เพราะแม่ไก่สุขภาพไม่ดีพอ วัคซีนที่ฉีดป้องกันโรคไก่ ทำให้ไก่เกิดมีภูมิคุ้มกัน ช่วยทำให้ไก่ที่เลี้ยงมีสุขภาพดีที่เป็นปกติ ไม่เป็นโรคอะไรได้ง่ายๆ 
ระวังอย่าให้ไก่ถูกพิษ แอฟฟล่า 
สารแอฟฟล่านั้นเป็นสารพิษที่ร้ายแรงนัก หรือที่เรียกรวมกันว่า แอฟฟล่าท็อกซิน เป็นสารที่เกิดจากเชื้อราหลายชนิด สามารถเจริญเติบโตได้ดีมากในผลิตผลทาง การเกษตรที่นำเอามาเป็นอาหารของคนและสัตว์ ดังที่ได้พบเห็นกันมาแล้ว และมีการพูดกันมาว่า สารพิษแอฟฟล่านี้จะมีอยู่ใน ถั่วลิสงเมล็ดแห้ง ในถั่วลิสงที่คั่วบด หรือป่นละเอียด ป่นหยาบๆ เมื่อเก็บเอาไว้นานๆ เชื้อราแอฟฟล่านี้ก็เจริญงอกงามขึ้นมาได้ในถั่วลิสง ซึ่งเราอาจมองไม่เห็น ในเมื่อเชื้อราที่เป็นสารพิษนี้แอบแฝงอยู่ นอกจากนี้ในถั่วเหลือง ในเมล็ดข้าวโพด หัวหอม หัวกระเทียม พริกขี้หนูแห้ง พริกแห้งเม็ดใหญ่ พริกชี้ฟ้าแห้ง หรือในปลาแห้ง ปลาป่น ปลาเค็ม ปลากรอบ เครื่องเทศ ทั้งหลายมักมีสารพิษนี้อยู่โดยทั่วไป มากบ้าง น้อยบ้างตามสภาพความเก่าเก็บและความชื้นมากน้อยที่มีอยู่ อาการที่ไก่ได้รับสารพิษแอฟฟล่าเข้าไปมากๆ ไก่จะแสดงอาการให้เห็นได้ชัดเจนมากคือ เริ่มแรกๆไก่จะมีการจิกที่ก้นกันอยู่เสมอๆจิกกันไปจิกกันมา ตามจิกกันอยู่เสมอ น่ารำคาญ จากนั้นก็จะเริ่มมีอาการเศร้า ซึม หงอยเหงา ไม่ค่อยจะกินอาหารดังปกติ ปีกตก หน้าซีดเซียว สังเกตได้ชัดเจนมาก เส้นขนก็ยุ่งเหยิง มองดูไม่สมบูรณ์ตาม ปกติ เติบโตช้า หากพบว่าไก่ได้รับสารพิษนี้เข้าไปแน่นอน ก่อนอื่นต้องเอาอาหารซึ่งมีอยู่ที่ให้ไก่กินแล้วเกิดเรื่องนี้ ให้ทำลายเสียทันที แล้วเอาอาหารชุดใหม่มาให้แทน อย่าให้อาหารเก่านั้นอีก เพื่อไก่ที่เลี้ยงจะได้หายป่วยจากสารแอฟฟล่าที่เกิดมาจากเชื้อรานี้ ไก่ก็จะเจริญเติบโตได้ดีเป็นปกติ กินอาหารได้มาก ร่าเริงสดชื่น เป็นปกติ 
โรคบิด 
โรคบิด ที่เกิดกับไก่นั้นรุนแรงนัก สามารถทำให้ไก่ ล้มตายได้อย่างที่เรียกว่า ตายเป็นเบือ ความจริงแล้วโรคบิดที่เกิดขึ้นกับไก่นี้ก็เหมือนๆกับโรคพยาธิลำไส้ทั่วไป แต่โรคบิดของไก่นี้จะทำให้ไก่กินอาหารได้น้อยลง กินน้ำมากขึ้นจนเกิดอาการผิดปกติในร่างกาย ไก่จะมีอาการ หงอยเหงา ซึม ถ่ายอุจจาระแบบอาการท้องร่วง ปีกก็ตกลงด้วย เวลาถ่ายก็มีเลือดปนออกมา ซึ่งอาจจะเป็นสีแดง สีแดงเข้ม หรือสีน้ำตาลก็ได้ มีอาการ บิดไส้ตันจนอักเสบ เลือดไหลออกมาเป็นสีคล้ำ ไก่อาจจะมีอาการมาก จะตายมากหรือตายน้อยก็ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของโรคที่เกิดขึ้น ในการที่จะวิจัยว่าไก่เป็นโรคบิดหรือไม่นั้นมีหลักการพิจารณาอยู่ 3 ประการ คือ 
1. ไก่มีอาการแสดงว่าเกิดป่วยขึ้นมาแล้ว มี อาการท้องร่วง ถ่ายอุจจาระแบบท้องร่วง 
2. อาจจะมีไก่บางตัวเกิดอาการหนักจนตาย เอามาผ่าซากไก่ดูร่องรอยของโรคที่ลำไส้ หรือที่ไส้ตันก็จะทราบดี 
3. เอาอุจจาระของไก่มาตรวจดู หรือขูดเอาเยื่อเมือกของลำไส้ หรือเอาไส้ตันของไก่ที่ป่วย มาตรวจดู 
การป้องกันโรคบิดในไก่ที่ดีที่สุดมีวิธีปฏิบัติอยู่ 2 วิธีด้วยกัน 
วิธีแรก เป็นการใช้วัคซีน 
วิธีต่อมา ก็เป็นการเอายาผสมลงไปในอาหารให้ไก่กิน วิธีนี้เป็นวิธีที่ดีที่สุด ได้ผลดีมากด้วย เนื่องจากมียาชนิดที่ใช้ทำลายเชื้อได้ดี ก็ได้แก่ยาจำพวก เค็กคอก คอยเคน และ ไซโคสเต็ด แล้วก็มียาชนิดอ่อนที่ใช้ป้องกันอีก คือ แอมโปรล พลัส คอแบน และ อาวาเท็ก ซึ่งจะไม่ทำลายเชื้อหมด แต่จะเหลือไว้จำนวนหนึ่งในปริมาณมากพอที่จะ 
กระตุ้นให้ไก่สร้างภูมิคุ้มกันโรคไก่ได้ 
การใช้ยาป้องกันโรคบิด ก็ต้องมีปัจจัยหลายอย่างที่จะต้องพิจารณาถึงข้อดีกันอย่างถี่ถ้วนก่อน เพื่อความแน่นอน เพื่อความถูกต้อง เนื่องจากว่าการให้ไก่กินยา ป้องกันโรคนี้ จะต้องให้ไก่กินโดยตลอดเวลาด้วย ในระยะเวลาที่เลี้ยงไก่ 7-8 สัปดาห์ นอกจากนี้แล้วก็สมควรเป็นยาที่ไม่ผิดสำแดง เมื่อใช้รวมกับยาอื่นๆ แล้วก็จะต้องมีประสิทธิภาพสูงในการควบคุมป้องกันไม่ให้เกิดโรคบิดอีกด้วย 
การป้องกันและรักษาโรคไก่

วิธีป้องกันและควบคุมโรคและพยาธิ วิธีที่ดีที่สุดคือ
* การสุขาภิบาลที่ดี * 
การให้วัคซีนป้องกันโรค โดยสม่ำเสมอ การสุขาภิบาล เป็นสิ่งสำคัญมากในการป้องกันโรคและพยาธิไก่
เพราะถ้าการสุขาภิบาลไม่ดีจะเป็นสาเหตุให้ไก่สุขภาพเลวลง ไม่แข็งแรงเป็นโรคต่าง ๆ ได้ง่าย ข้อแนะนำมีดังนี้
1.ควรดูแลทำความสะอาดเล้าและภาชนะต่างๆที่วางไว้ในเล้าไก่และบริเวณใกล้เคียงด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อโรค และอย่าปล่อยให้เล้าชื้นแฉะ เพราะจะเป็นที่หมักหมมของเชื้อโรค
2. สร้างเล้าให้อากาศถ่ายเทได้สะดวก
3. กำจัดแหล่งน้ำสกปรกรอบ ๆ บริเวณบ้าน เล้าไก่ และใกล้เคียง
4. อาหารไก่ต้องมีคุณภาพดี อาหารที่กินไม่หมดให้ทิ้ง อย่าปล่อยให้เน่าเสีย
5. มีน้ำสะอาดให้ไก่กินตลอดเวลา
6. ถ้ามีไก่ป่วยไม่มากนัก ควรกำจัดเสีย และจัดการเผาหรือฝังให้เรียบร้อยจะช่วยกำจัดโรคได้เป็นอย่างดี
7. อย่าทิ้งซากไก่ลงแหล่งน้ำเป็นอันขาด เพราะเชื้อโรคจะแพร่กระจายไปได้
8. กำจัดซากไก่โดยวิธีเผาหรือฝัง ไม่ควรนำไปจำหน่าย เพราะจะทำให้เกิดโรคแพร่ระบาดได้
9. วิธีป้องกันโรคอีกอย่างหนึ่งก็คือเราไม่ควรซื้อไก่สดจากตลาดหรือหมู่บ้านอื่นมากิน เพราะไก่พวกนี้อาจเป็นโรคมาแล้วก็ได้
10. เมื่อมีโรคระบาดเกิดขี้น เจ้าของไก่ควรติดต่อหารือกับสัตวแพทย์โดยเร็ว
การใช้วัคซีนป้องกันโรคระบาดไก่ ถึงแม้ว่าเราจะได้มีการสุขาภิบาลที่ดีแล้ว
แต่โดยปกติในสิ่งแวดล้อมจะมีเชื้อโรคอยู่ ซึ่งสามารถทำให้ไก่เป็นโรคได้ทุกเวลา เราจึงต้องสร้างความต้านทานโรคให้กับไก่ของเรา โดยการใช้วัคซีนป้องกันโรค ควรให้ตั้งแต่อายุน้อยๆ และทำตามตารางที่กำหนดอย่างสม่ำเสมอ เป็นวิธีการป้องกันโรคที่เสียค่าใช้จ่ายน้อย และได้ผลค่อนข้างดี
ที่มา//
kaichon.com

วันจันทร์ที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2556

การเคียนเดือย

การเคียนเดือย
การเคียนเดือยนอกจากจะเป็นการเตรียมไก่ให้พร้อมก่อนลงสนามแล้ว การเคียนเดือยยังเป็นการป้องกันไม่ให้เดือยโค่นหรือเดือยหัก ขณะชน ส่วนวิธีการเคียนเดือยก็แล้วแต่ว่าไก่ตัวนั้นเดือยสั้นหรือเดือยยาว มือน้ำจะรู้เองว่าจะเคียนกี่รอบก็แล้วแต่ความเหมาะสม แต่โดยปกติแล้วไก่ที่เดือยสั้น มักจะไม่เคียนเดือย เพราะไก่ที่เดือยสั้น โอกาสที่เดือยจะโค่นหรือหักนั้นมีน้อยกว่าเดือยยาว
การเคียนเดือยเราจะเคียนรองโคนเดือย ส่วนการพันเดือยเราจะพันรอบเดือย การเคียนเดือยเราจะเคียนเพื่อป้องกันเดือยโค่นหรือเดือยหัก ส่วนการพันเดือยพันเพื่อป้องกันเดือยโผล่ ในการเคียนเดือยจะต้องไม่เคียนแน่นหรือหลวมจนเกินไป เพราะจะทำให้ไก่กังวลมากเกินไป นำไปถึงการไม่ตีไก่

ขอบคุณเวปไก่ชนดอดคอม


การต่อปีก

การต่อปีก
ปีกไก่ที่ดีจะต้องมีกระดูกหนา ขนปีกหนาเรียงชิดติดกัน อย่างเป็นระเบียบเป็นโค้งลอนเดียว ขนปีกไม่ขาด สนับปีกหนา ทุกส่วนถูกต้องตรงตามสีไก่ ไก่ชนตามบ่อนไก่จะไม่ค่อยสนใจเท่าไร เนื่องจากส่วนใหญ่เป็นไก่ต่อปีก ขนที่ต่ออาจจะไม่เข้ากับสีตัวไก่ ขอให้บินดีเป็นใช้ได้ 
ปีกไก่แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ

  1. ปีกไก่ลอนเดียว คือปีกธรรมดา เมื่อคลี่ออกทางคล่ำจะเห็นว่าขนปีกเรียงกันเป็นแถว ไปจนสุดปีก
  2. ปีกไก่สองลอน คือปีกเมื่อคลี่ออกทางคว่ำจะเห็นว่าปีกแบ่งออกเป็น 2 ตอน ปีกชนิดนี้ถ้าถูกไก่เชิงมัด มุดโผล่ออกตอนกลางลอน ก็จะเสียเชิงมาก เพราะปลดไม่ค่อยออก ถ้าไม่ถูกไก่เชิงมัดก็ไม่เป็นไร 
    ปีกไก่แบ่งออกเป็น 9 ลักษณะ คือ
    • ปีกหนา ดี
    • ปีกยาว ดี
    • ปีกสั้น ถ้าหนาและใหญ่ก็ใช้ได้
    • ปีกใหญ่ ดี
    • ปีกขนแข็ง เป็นมัน ดี
    • ปีกบาง ไม่ดี
    • ปีกขนเปราะ ไม่ดี
    • ปีกเล็ก ไม่ดี
    • ปีกใยแตก ไม่ดี แต่ถ้าเป็นเพราะเปียกน้ำ ก็ระวังรักษาให้หายได้ โดยระวังไม่ให้เปียกน้ำอีก
ในส่วนของปีกไก่ ถ้าหนาใหญ่ขนแข็งเป็นมันยิ่งดี มีกำลังบินดี ถ้าปีกเล็กไม่มีกำลังบิน ปีกจะตกห้อยจากไหล่แสดงว่าหมดกำลัง ถ้าปีกสั้นแต่หนาใหญ่ขนแข็งเป็นมัน ก็ยังดีใช้ได้ 
ที่มา ไก่ชนดอดคอม

การเตรียมตัวไก่เข้าสังเวียน

การเตรียมตัวไก่เข้าสังเวียน 
การให้อาหารขณะชน

ในวันที่นำไก่ออกชน ส่วนใหญ่ผู้เลี้ยงจะไม่ให้อาหารไก่เต็มที่เท่าไรนัก บางคนให้กินเพียงไข่ต้มสุกเพียงใบเดียว หรือบางคนตำข้าวให้ไก่กิน ดังนั้นเมื่อเปรียบไก่ได้คู่แล้ว ควรให้อาหารไก่กินจนอิ่ม แต่ไม่ควรให้แน่นเกินไป อาหารที่ให้ควรเป็นอาหารสุกที่เตรียมไว้ให้กิน และพยายามไม่ให้กิน อาหารที่คนอื่นให้หรือไม่รู้ที่มาของอาหารเพื่อความปลอดภัยของตัวไก่ 
การให้ยาโด๊ป

ในการให้ยาโด๊ป ต้องกะระยะเวลาในการให้ยาตามที่ผู้ผลิตได้บอกไว้ในฉลากยา เพื่อให้ยาได้ออกฤทธิ์อย่างมีประสิทธิภาพ ควรให้ยาโด๊ปหลังจากที่ให้อาหารไก่เรียบร้อยแล้ว และควรทำตามลายละเอียดต่างๆที่ผลิตว่าไว้ทุกขั้นตอน ควรงดอาหารเสริมประเภทแตงกวา ไข่ น้ำมะพร้าว เพราะอาหารเหล่านี้จะดูดซับ ทำให้ยาโโปออกฤทธิ์ได้ไม่เต็มที่ และไม่ควรให้ยาโด๊ปกินไว้ก่อน เพราะมีบางคนเข้าใจผิดพยายามให้ยาตัวที่ยังไม่ควรให้ หรือให้ยาโด๊ปมากเกินไป จะทำให้ไก่เกิดอาการช็อกยาโด๊ปได้ ซึ่งเมื่อไก่ช็อกแล้วจะทำให้ไก่มึน งง ยืนให้ไก่คู่ต่อสู้ตี และหงอนจะดำ ซึ่งจะส่งผลให้แพ้ได้ง่าย 
การต่อปีก
ปีกไก่ที่ดีจะต้องมีกระดูกหนา ขนปีกหนาเรียงชิดติดกัน อย่างเป็นระเบียบเป็นโค้งลอนเดียว ขนปีกไม่ขาด สนับปีกหนา ทุกส่วนถูกต้องตรงตามสีไก่ ไก่ชนตามบ่อนไก่จะไม่ค่อยสนใจเท่าไร เนื่องจากส่วนใหญ่เป็นไก่ต่อปีก ขนที่ต่ออาจจะไม่เข้ากับสีตัวไก่ ขอให้บินดีเป็นใช้ได้ 

ที่มา kaichon.com

การเช็คความสมบูรณ์ก่อนออกชน

  1. ตรวจเช็คดูผิวพรรณไก่โดยรวมๆ ไก่ที่จะออกชนได้ต้องผิวพรรณดี เป็นสีแดงระเรื่อหรือแดงสด ไม่ว่าจะเป็นหงอน หน้าตา ผิวพรรณตามส่วนต่างๆ หากว่าไก่มีหงอนดำหรือคล้ำกว่าปกติและผิวพรรณไม่ดี หรือถอดสีแดงแสดงว่าไก่ไม่สมบูรณ์(ไก่ถอดสีหมายถึง ไก่ที่จับดูสักระยะหนึ่ง ผิวพรรณของไก่จะขาวซีดลง)
  2. ตรวจเช็คน้ำหนักของไก่ โดยให้สังเกตน้ำหนักเดิมของไก่ว่ามีน้ำหนักเท่าใด แล้วต้องดูตามความเหมาะสมของไก่แต่ละตัว การเช็คน้ำหนักของไก่ให้เช็คน้ำหนักของไก่ให้ชั่งดูก่อนซ้อมปล้ำ และเมื่อซ้อมปล้ำดูแล้วไก่แข็งแรงบินดี สมมุติว่าไก่น้ำหนักก่อนปล้ำ 2.8 กิโลกรัม เมื่อซ้อมปล้ำดูแล้ว ปรากฏว่าไก่บินดี แข็งแรง ก็ให้คุมน้ำหนักไก่ตัวนั้นให้มีน้ำหนักในวันเลี้ยงสุดท้ายก่อนออกชนที่ 2.8 กิโลกรัม หรือเพิ่ม-ลด เล็กน้อย
  3. ตรวจเช็คดูว่าไก่ย่อยหมดหรือไม่ ในวันที่จะนำไก่ออกชน ก่อนนำไก่ออกจากเล้านอน ให้ตรวจเช็คที่กระเพาะไก่ว่าย่อยหมดหรือยัง กระเพาะไก่ต้องไม่มีอาหาร คือต้องว่างไม่มีอะไรเลย หากว่ายังมีอาหารในกระเพาะแสดงว่าไก่ไม่สมบูรณ์ แต่ถ้ามีอยู่เล็กน้อย แล้วย่อยหมดในช่วงสายๆก็พอใช้ได้
  4. ตรวจเช็คดูขี้ไก่ ไก่ที่ร่างกายสมบูรณ์ขี้จะเป็นก้อนเล็กๆไม่แข็งหรือเหลวเกินไป ลักษณะคล้ายขี้ของนกเขา หากว่าขี้แข็งก้อนใหญ่เกินไปแสดงว่าระบบย่อยอาหารไม่ดี หากว่าขี้เหลวมีสีเหลืองแสดงว่าไก่ท้องเสีย แต่ถ้าหากขี้มีสีน้ำตาลเพราะเราให้อาหารประเภทไข่หรือเนื้อไก่ก็จะขี้เป็นสีน้ำตาล ไก่ที่จะออกชนควรจะมีขี้สีเขียวไม่เข้มมากนัก ขี้ไม่แข็งหรือเหลวเกินไป ขี้ไม่ก้อนใหญ่เกินไป
  5. ตรวจเช็คดูตาและคอ ตาของไก่ต้องไม่มีพยาธิในตา ตาต้องไม่บวม ไม่มีฟองหรือมีน้ำตา หากว่าไก่มีอาการเจ็บคอ เช่น เสียงขันผิดปกติจากเดิม คอมีกลิ่นเหม็น ถ้าไก่มีอาการเหล่านี้ไม่ควรนำออกชน
  6. ตรวจเช็คอากัปกิริยาของไก่ ไก่ที่จะออกชนต้องมีอาการปกติ คือ ก่อนเคยมีท่าทาง อากัปกิริยาอย่างไรก็ต้องเป็นอย่างนั้น นอกเสียจากว่าจะกระปรี้กระเปร่ามากขึ้น ถ้าหากว่าไก่มีอาการ เซื่อง ซึม ไม่กินอาหาร ย่อยไม่หมด แสดงว่าไก่ไม่สมบูรณ์ ถ้าหากไก่มีอาการใช้นิ้วเกาที่บริเวณจมูกบ่อยๆ หรือมีน้ำมูกที่รูจมูก แสดงว่าไก่จมูกตันหรืออาจจะเป็นหวัด ไม่ควรนำออกชนอย่างยิ่ง
  7. ตรวจเช็คดูขา นิ้ว เดือย และการเดิน ไก่ที่จะออกชนต้องไม่มีอาการนิ้วเจ็บ ขาเจ็บ เช่นว่า ถ้าไก่ยืนยกขาด้านใดด้านหนึ่งอยู่เป็นประจำ แสดงว่าไก่เจ็บขาหรืออาจจะเจ็บบริเวณใต้ฝ่าเท้า หรือนิ้วต้องตรวจเช็ค ว่าไก่เจ็บที่ใด และต้องตรวจดูที่เดือยของไก่ด้วยว่ามีอาการช้ำ โยก หรือห้อเลือดหรือไม่ ถ้ามีอาการเหล่านี้ไม่ควรนำไก่ออกชน
  8. ตรวจเช็คดูปีกและน้ำขน ไก่ที่จะออกชนต้องยังไม่หลุด หรือถ้าหากว่าจะหลุดแล้วแต่ยังเพิ่งเริ่มหลุดก็ยังพอออกชนได้ แต่ถ้าหลุดเยอะและขนหมดมันหรือขนแห้งมากเกินไป ไม่ควรนำไก่ออกชน เพราะไก่ที่หลุดถ่ายขนร่างกายจะไม่สมบูรณ์เท่าใดนัก เพราะพลังงานส่วนใหญ่จะถูกนำไปใช้ในการสร้างขนใหม่ จึงไม่ควรนำไก่ออกชนอย่างเด็ดขาด//ขอบคุณเวปไก่ชนดอดคอม

การพักไก่ หรือการคืนตัวไก่ก่อนออกชน

การพักไก่หรือการคืนตัวไก่ก่อนออกชน 

        การเลี้ยงไก่ออกชนทุกครั้ง เราต้องเลี้ยงเป็นเวลานานพอสมควร เลี้ยงเพื่อหวังชัยชนะกันทุกคน บางคนเลี้ยง 15 วัน บางคนเลี้ยง 21 วัน บางคนเลี้ยงเป็นเดือนก็มี แล้วแต่วิธีการเลี้ยงของแต่ละคน แต่ถ้าเลี้ยงนานๆยิ่งดี เพราะจะได้เปรียบคู่ต่อสู้เรื่องความเข้มแข็ง แต่ก็ขึ้นอยู่กับไก่ด้วยเหมือนกัน ว่าไก่ที่เลี้ยงอยู่นั้นเป็นไก่หนุ่มหรือไก่ถ่าย ถ้าเป็นไก่หนุ่มไม่ควรเลี้ยงนานจนเกินไป ส่วนการเลี้ยงไก่แซมหรือไก่ถ่ายนั้นยิ่งเลี้ยงนานยิ่งดี การเลี้ยงไก่ทุกครั้งจะขาดเสียไม่ได้คือยาสมุนไพรต่างๆ เช่นยาบำรุงร่างกายสำหรับให้ไก่กินในระหว่างการเลี้ยงเพื่อออกชน และต้องให้กินทุกวันก่อนนอนเป็นประจำ เพราะจะทำให้ไก่เคยชินกับยาสมุนไพรนั้นๆ หลังจากที่เราเลี้ยงไก่จนครบกำหนดวันที่จะออกชน ข้อสำคัญเราต้องมีการพัก หรือการคืนตัวไก่
การพักหรือการคืนตัวไก่ ก็เพื่อให้สภาพร่างกายของไก่ได้คล่องตัวในการชน เพราะตลอดเวลาที่เราเลี้ยงมานั้น เราทั้งลงขมิ้น ลงกระเบื้อง ตามร่างกายของไก่มาเป็นเวลานาน ร่างกายของไก่จึงมีอาการตึงตามตัวและขนของไก่ การพักเพื่อคืนตัวไก่นั้นไม่ควรพักเกิน 2 วัน ถ้าพักมากอาจทำให้ไก่ลืมตัวไปเลยก็มี วันแรกพอแดดออกเราเริ่มกราดน้ำด้วยน้ำซาวข้าว แล้วนำไปตากแดดให้แห้งอย่าให้หอบ นำเข้าร่มแหย่คอเอาเสลดออกให้หมด พอหายเหนื่อยดีแล้วให้กินข้าว กินน้ำ แล้วนำไปปล่อยเล้าที่มีบริเวณกว้างๆ และในเล้านั้นควรให้มีหลุมฝุ่นให้ไก่ได้เล่นด้วย เพราะฝุ่นนั้นจะช่วยคลายตัวอีกทางหนึ่ง พอบ่ายก็นำไก่มาขังสุ่มเพื่อต้องการให้ไก่ได้สลัดฝุ่นออกจากตัวให้หมด แล้วก็ล้างด้วยน้ำสะอาดอีกครั้ง แล้วนำไปตากแดดให้แห้งอย่าให้ไก่หอบเป็นอันขาด พอขนแห้งให้นำไก่เข้าร่ม แหย่คอเอาเสลดออก พอหายเหนื่อยก็ให้ข้าว และก็ตามด้วยยาสมุนไพรที่จัดเตรียมไว้ ยาบำรุงควรให้อย่าให้ขาด ทำอย่างนี้ 2 วันก็พอ แต่ถ้าวันออกชนกระเพาะเกิดไม่ย่อยห้ามนำไปชน
อย่างเด็ดขาด/// ที่มา เวปไก่ชนดอดคอม

วิธีดูแลไก่ชนออกตี

การเลี้ยงไก่ให้ถึงบ่อน
  1. พ่อพันธุ์-แม่พันธุ์ ต้องมั่นใจ โดยเฉพาะแม่พันธุ์จะเก่ง จะอึด จะทน เหนียว สู้เต็มร้อย แม่ต้องดีต้องลงเหล่า เลือดนิ่ง พ่อพันธุ์ต้องผ่านสังเวียน พิสูจน์ความเก่ง ความเหนียวจากสนามชนมาแล้ว
  2. การปล้ำคัดไก่ เมื่อไก่มีอายุ 5-6 เดือน เลือกเอาไก่ที่สมบูรณ์ ไม่พิการ ท่าทางดี เอามาเลี้ยงบำรุง พออายุ 8-9 เดือน ก็สุดปีกสุดหาง เสียงขันชัดเจน เริ่มสู้ไก่ ก็นำไก่มาครอบสุ่มเลี้ยง กราดน้ำกราดแดด สัก 10 วัน ลองปล้ำ ซ้อมกับไก่รุ่นราวเดียวกันสัก 15 นาที ซ้อมดูเชิง ดูลำโต ดูรอยตี ถ้าใช้ได้เลี้ยงต่อ การปล้ำคัดไก่นี้จะปล้ำประมาณ 3 อัน โดยซ้อมครั้งละ อัน 20-25 นาที แล้วแต่สภาพไก่ สู้ไม่ได้ก็ต้องยอมเขาไปก่อน มิเช่นนั้นจะเสียไก่
  3. การซ้อมวัดใจ 2 อันเต็มๆ คือหลังจากนำไก่มาครอบสุ่มเลี้ยงและปล้ำคัดไก่มาแล้วประมาณ 3 ครั้ง 3 อัน ไก่จะเริ่มมีความแข็ง เนื้อหนังดี อายุได้ แล้วนำมาซ้อมวัดใจให้ได้ 2 อัน ถ้าไก่เชิงดี ตีจัด ซ้อมไม่ค่อยได้อันเราต้องพันผ้าหุ้มเดือยให้หนาสักนิด คู่ต่อสู้จะได้ทนได้ การที่ต้องซ้อมโหดๆ 2 อันก็เพื่อจะดูการยืน การยืดเวลา การตีลำตกไหม แรงบินได้ไหม เหนื่อยหอบหรือเปล่า เมื่อเหนื่อยหอบลืมเชิง ลืมลำตีไหม ใจสู้ไหม จิตใจมั่นคง เหนียวหรือเปล่า ขั้นตอนนี้ต้องซ้อมให้ถึง อย่าสงสารไก่ ต้องให้ไก่เจ็บ ให้เหนื่อย ให้รู้จักแก้สถานการณ์ เราจะรู้ฝีตีนไก่ รู้น้ำใจไก่ ถ้าซ้อมผ่านโอกาสถึงบ่อนมีสูง แต่ไก่ส่วนมากจะถูกคัดออกจากขั้นตอนนี้ ตัวไหนไม่ผ่านอย่าไปฝืนเลี้ยงออกตี ให้ยอมเสียเวลาไปเลี้ยงบำรุง กินดี นอนดี ออกกำลังดี แล้วกลับมาซ้อมวัดใจอีกครั้ง ถ้าผ่านใช้ได้ ถ้าไม่ผ่านอีกตัดใจทิ้งไปเลย
  4. การถอนตีน เลี้ยงบำรุงก่อนออกตี เมื่อไก่ผ่านด่านวัดใจมาจะมีความบอบช้ำ ได้หน้า ได้คอ ได้แผลตามที่ต่างๆ เราต้องนำมาถ่ายยา จัดหาอาหารบำรุง อาหารเสริม ให้ไก่ออกกำลังโยนเบาะ วิ่งสุ่ม วิ่งล่อทางตรง ทางโค้ง ทวนเชิง เมื่อไก่สมบูรณ์หน้าแดง ตีปีกพั่บๆ เราต้องถอนตีนอีก 1 อัน คือซ้อมคู่อีก 1 อัน ไก่คู่ซ้อมไม่ต้องแกร่งมาก หลังจากถอนตีนเสร็จก็เลี้ยงบำรุงออกตีได้เลย
  5. การเปรียบไก่และเดิมพัน ขั้นตอนนี้จะว่าง่ายก็ง่าย ว่ายากก็ยาก การเปรียบไก่มีสูตรประจำตัวที่หนีไม่สู้เขาอยู่ 3 ข้อ คือ
    • ตัวโต(สูง)
    • อายุดี(ลูกถ่าย แซม)
    • ตอยาว

    ถ้าคู่ต่อสู้ได้เปรียบเราทั้ง 3 อย่างก็ไม่ควรจะตี หลังจากเปรียบได้คู่ ดูพอสมน้ำสมเนื้อกันแล้ว ก็ค่อยพูดถึงเดิมพัน  //ที่มา เวป ไก่ชนดอดคอม

วันอาทิตย์ที่ 2 มิถุนายน พ.ศ. 2556

วิธีดูลักษณะไก่ชนว่าเก่งหรือไม่(ตามตำรา)

ลักษณะไก่ชนตีดี
สวัสดีครับ   กีฬาไก่ชน ทุกวันนี้ได้พัฒนาสายพันธุ์ขึ้นไม่มีที่สิ้นสุดครับ บางท่านก็ยังชอบแบบดั้งเดิม (เก่าๆ) บางท่านก็ขอบแบบรวดเร็วทันใจ โป้งปิดบัญชี บางท่านก็ชอบลีลาสวยงาม ฯลฯ วันนี้ผู้เขียนขอเสนอวิธีดูลักษณะไก่ชนเก่ง (ตามตำรา) มาฝากครับ

เราสามารถคัดเลือกไก่ชนที่ดีจากการวิเคราะห์ลักษณะภายนอกของมันได้ โดยตามตำราจะระบุไว้ดังนี้
- ใบหน้าเล็ก คางรัด
- หงอน (หงอนบางกลางหงอนสูง) (หงอนหิน)
- ปากเป็นร่องน้ำสองข้างลึก (ปากสีเดียวกับขา)
- นัยตาดำเล็ก ตาขาวมีสีขาว (ตาปลาหมอตาย) (หรือตาสีเดียวกับสร้อยคอ)
- สีของขน
- สร้อยคอต้องยาวติดต่อสร้อยกลางหลัง
- ปากใหญ่ยาว
- คอใหญ่และกระดูกปล้องคอถี่ ๆ
- หางยาวแข็ง
- กระดูกหน้าอกใหญ่ ยาว
- แข้งเล็ก แห้ง ร่องเกล็ดแข้งลึก และกลม เกล็ดแข้งใส เหมือนเล็บมือ
- นิ้วเล็กยาว เล็บยาว
- เม็ดข้าวสารนูนเวลาใช้มือลูบจะคายมือ
- โคนหางใหญ่
- อุ้งเท้าบาง แคร่หลังใหญ่
- เส้นขาใหญ่
ที่สำคัญควรเลือกไก่ชนที่แข็งแรงสมบูรณ์ ไม่เป็นโรคด้วยนะครับ ถ้าไก่เข้าตำราทุกอย่างแต่ดันขี้โรคก็ไม่ดีครับ
ปล. การที่ไก่ชนจะมีรูปร่างลักษณะเข้าตำราเป๊ะๆ ก็ไม่ได้หมายความว่ามันจะเก่งไปซะหมดหรอกนะครับ เป็นเป็นเพียงอีกหนึ่งปัจจัยในการคัดไก่เท่านั้นเอง ถ้าเห็นไก่ตามลักษณะตำราก้อยู่พื่งหน้ามืดตะครุบนะครับ ควรดูลีลา ดูเชิงกันก่อนจะได้ไม่มานั่งเสียดายเงินที่หลัง
- และอีกทางเลือกหนึ่งของเจ้าของไก่นะครับ ขึ้นอยู่กับความชอบ พึงพอใจ ของตัวเองและทีมงาม สุดท้ายก็ขอให้ผู้เข้าเยี่ยมชม ไม่เจ็บไม่จน เป็นคนดีของสังคมครับผม
ขอบคุณ เวป http://www.kaichondd.com